สงครามยูเครนดำเนินเป็นเวลาครบ 2 ปีเต็ม ท่ามกลางความท้าทายและคำถามว่า ยูเครนจะสามารถตอบโต้และต้านท้านการรุกรานของรัสเซียต่อไปได้เหมือนสองปีที่ผ่านมาหรือไม่ หลังจากเริ่มมีสัญญาณความเพลี่ยงพล้ำที่แนวรบทางภาคตะวันออก ขณะที่ชาติพันธมิตรรายสำคัญอย่างสหรัฐฯ ยังคงล่าช้าในการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ยูเครนที่กำลังขาดกระสุนมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว
"เซเลนสกี" ย้ำ ยูเครนจะคว้าชัย ในโอกาสครบรอบ 2 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน
"เซเลนสกี" เดินหน้าลงนามข้อตกลงด้านความมั่นคง ร่วมกับเยอรมนี-ฝรั่งเศส
อย่างไรก็ดี ในวันสงครามครบรอบสองปี ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้ออกมายืนกรานว่า ยูเครนจะต่อสู้เพื่อชัยชนะและจะได้รับชัยชนะในที่สุด
เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ได้ออกมากล่าวสุนทรพจน์ในวันครบรอบสองปีสงครามยูเครน ที่สนามบินฮอสโตเมล บริเวณชานเมืองกรุงเคียฟ
ที่นี่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านยูเครน เนื่องจากกองทัพยูเครนสามารถตอบโต้และขับไล่กองทหารร่มรัสเซียที่พยายามเข้ายึดสนามบินแห่งนี้เพื่อรุกคืบบุกยึดกรุงเคียฟได้ในวันแรกของสงคราม ประธานาธิบดียูเครนยืนกรานว่า หากสงครามจะจบลง สันติภาพที่ได้รับจะต้องเป็นสันติภาพที่เป็นธรรม
นั่นคือสงครามต้องจบลงภายใต้เงื่อนไขของยูเครน ที่ยูเครนจะต้องดำรงอยู่ต่อไปในฐานะรัฐอธิปไตยและได้รับดินแดนที่รัสเซียยึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนอย่างผิดกฎหมายคืน พร้อมประกาศว่า ยูเครนจะต่อสู้ต่อไปจนกว่าถึงวันที่ได้รับชัยชนะ และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียจะต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไป
สงครามยูเครนครบรอบ 2 ปีในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ยูเครนกำลังกลายเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำและเสียเปรียบรัสเซียจากเครื่องกระสุนและอาวุธที่ไม่เพียงพอและกำลังพลที่เหนื่อยล้า โดยเฉพาะที่บริเวณแนวรบทางภาคตะวันออกในแคว้นโดเนสตก์ ซึ่งยูเครนเพิ่งเสียเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างอัฟดีฟกาให้กับรัสเซียไปเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว อีกทั้งยังต้องเตรียมตั้งรับการรุกคืบของรัสเซียต่อไปยังเมืองข้างเคียง อย่างเช่นเมืองชาร์สิฟ ยาร์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลจากอัฟดีฟกา ขณะที่หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามไปที่ชาติพันธมิตรตะวันตกว่า จะยังสามารถรักษาความเป็นหนึ่งเดียวในการสนับสนุนยูเครนเพื่อทำสงครามต้านท้านรัสเซียต่อไปได้หรือไม่ หลังเริ่มปรากฏอาการ ‘ล้าสงคราม’ หรือ war fatigue โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เป็นผู้สนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เบอร์หนึ่งของยูเครน
อย่างไรก็ตาม ในวันครบรอบสองปีสงครามมีผู้นำจากชาติพันธมิตรเดินทางมาที่กรุงเคียฟ เพื่อร่วมแสดงความเป็นหนึ่งเดียวและยืนยันการสนับสนุนยูเครนต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี อเล็กซานเดอร์ เดอ ครู นายกรัฐมนตรีเบลเยียม และจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา
โดยผู้นำชาติพันธมิตรตะวันตกเข้าได้ร่วมพิธีวางดอกไม้เพื่อแสดงความรำลึกถึงทหารยูเครนที่เสียชีวิตไปจากสงคราม ที่ ‘กำแพงรำลึกผู้ปกป้องแห่งยูเครนผู้วายชนม์’ หรือ the Memory Wall of Fallen Defenders of Ukraine
ด้านประธานคณะกรรมาธิการยุโรปของสหภาพยุโรป ได้แถลงร่วมกับผู้นำชาติพันธมิตรตะวันตก โดยได้ชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครนที่ปกป้องประเทศและยุโรปตลอดสองปีที่ผ่านมา
พร้อมระบุว่า พวกเขามาร่วมตัวกันที่นี่เพื่อแสดงให้เห็นว่า ยุโรปจะยังสนับสนุนและยืนหยัดเคียงข้างยูเครนต่อไปตราบเท่าที่ยูเครนต้องการ ไม่ว่าจะด้วยความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือความสนับสนุนด้านการทหารต่างๆคำพูดจาก สล็อต888
หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ประธานาธิบดีเซเลนสกีก็ได้ลงนามในข้อตกลงด้านความมั่นคงแบบทวีภาคีร่วมกับนายกฯ อิตาลี และนายกฯ แคนาดา
ข้อตกลงดังกล่าวจะดำเนินไปเป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงให้แก่ยูเครนจนกว่าจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกของนาโตได้
ก่อนหน้านี้ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส และเดนมาร์กก็ได้ประกาศลงนามในข้อตกลงลักษณะเดียวกันร่วมกับรัฐบาลเคียฟไป
ขณะที่แคนดาสัญญาว่า จะมอบความช่วยเหลือทางการทหารและทางเศรษฐกิจมูลค่าราว 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่ยูเครนในปีนี้ อิตาลีก็ให้คำมั่นว่า จะส่งมอบอาวุธพิสัยไกลที่ยูเครนกำลังต้องการอย่างมากให้
เหล่านี้คือสัญญาณจากชาติพันธมิตรโดยเฉพาะในยุโรปว่า พร้อมจะสนับสนุนและยืนหยัดเคียงข้างยูเครนต่อในวันที่พันธมิตรรายใหญ่อย่างสหรัฐฯ เริ่มมีท่าทีที่ไม่แน่นอนจากความขัดแย้งการเมืองภายในระหว่างพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน
รวมถึงอยู่ในช่วงฤดูกาลเลือกตั้ง ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจุดยืนของสหรัฐฯ ต่อสงครามยูเครนครั้งใหญ่
ขณะเดียวกัน ประชาชนชาวยูเครนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศก็ได้ออกมาร่วมรำลึกวันสงครามครบรอบสองปีและรำลึกถึงการจากไปของทหารยูเครน
แห่งหนึ่งคือที่บริเวณจัตุรัสไมดานใจกลางกรุงเคียฟ ซึ่งเคยเป็นสถานที่ประท้วงหลักในการ ‘ปฏิวัติยูโรไมดาน’ ในปี 2014 เพื่อต่อต้านอำนาจครอบงำของรัสเซีย และนำไปสู่การผนวกคาบสมุทรไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนรัสเซียอย่างผิดกฎหมาย และสงครามในภูมิภาคดอนบาสทางภาคตะวันออก
ก่อนจะตามมาด้วยการเปิดฉากทำสงครามรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบเมื่อสองปีที่แล้ว
ที่บริเวณจัตุรัสเนืองแน่นไปด้วยธงชาติสีฟ้า-เหลืองของยูเครนที่ประชาชนในกรุงเคียฟนำมาปักไว้ ระบุชื่อเมืองต่างๆ และชื่อของทหารที่เสียชีวิตลงจากการสู้รบไว้บนธง พร้อมนำดอกไม้มาวางไว้เพื่อแสดงความรำลึก
บรรยากาศการรำลึกเป็นไปอย่างเงียบงัน
ประชาชนชาวยูเครนที่อาศัยยูเครนในกรุงเคียฟรายหนึ่งระบุว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาของสงครามได้เปลี่ยนชีวิตของเขาไปมากอย่างที่ไม่สามารถหาคำมาอธิบายได้ และต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความหวาดกลัวว่าจะถูกรัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีใส่ หรือยูเครนจะถูกรัสเซียยึดครองหรือไม่
ขณะที่อีกรายระบุว่า แม้เขาจะยังหวังว่ายูเครนจะเอาชนะรัสเซียได้ในวันหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าสงครามจะจบลงในเร็ววัน และน่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกใน 3-4 ปี ขณะที่สังคมต้องหันกลับมาร่วมแรงร่วมใจเพื่อต่อสู้กับรัสเซียอีกครั้งท่ามกลางความเหนื่อยอ่อนจากสงคราม
อีกแห่งหนึ่งที่มีการไว้อาลัยคือที่เมืองบูชา เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งทางตอนเหนือของกรุงเคียฟ
ที่นี่คือเมืองที่ตกอยู่ในการยึดครองของรัสเซียในช่วงระยะแรกของสงคราม ก่อนที่ทหารยูเครนจะสามารถปลดปล่อยได้และพบว่ารัสเซียได้ก่ออาชญกรรมสังหารพลเมืองและทหารไปเป็นจำนวนมากระหว่างการยึดครอง
โดยประชาชนในเมืองบูชาได้ไปไว้อาลัยที่บริเวณสุสานแห่งหนึ่งในเมืองเพื่อรำลึกต่อการจากไปของครอบครัว ญาติพี่น้อง และทหารที่ถูกรัสเซียสังหารไป สุสานต่างประดับประดาไปด้วยธงชาติยูเครน ดอกไม้ และเทียนที่จุดไว้
ส่วนที่เมืองลวีฟ เมืองทางภาคตะวันตกของยูเครนก็ได้มีการจัดพิธีไว้อาลัยต่อทหารที่เสียชีวิตลงจากการสู้รบที่สุสานในเมืองเช่นกัน โดยประชาชนในเมืองลวีฟได้ร่วมยืนไว้อาลัยด้วยความโศกเศร้า
เยฟฮีเนีย เดมชุค ภรรยาของทหารที่เสียชีวิตจากสงคราม ระบุว่า ราคาที่บรรดาทหารต้องจ่ายไปในการสู้รบเพื่อปกป้องยูเครนนั้นสูงมาก และเธอได้แต่หวังว่าชีวิตที่ต้องเสียไปจะไม่สูญเปล่า ขณะเดียวกัน ประชาชนหลายพันคนในหลายประเทศทั่วโลกก็ได้ออกมาเดินขบวนและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงการสนับสนุนยูเครนและเรียกร้องให้รัสเซียภายใต้ประธานาธิบดีปูตินยุติการทำสงคราม ในวันสงครามครบรอบสองปี
ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหลวงของประเทศพันธมิตรในยุโรป เช่น กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร กรุงเบอร์ลินของเยอรมนี หรือกรุงมาดริดของสเปน เป็นต้น
ส่วนในเมืองหลวงของประเทศที่ต่อต้านและหวาดเกรงต่ออิทธิพลของรัสเซีย อย่างที่กรุงทบิลีซีของจอร์เจีย หรือกรุงวอร์ซอของโปแลนด์ ประชาชนจำนวนมากก็ได้ออกมาเดินขบวนเช่นกัน
แต่ที่น่าสนใจคือ มีรายงานว่าเกิดการประท้วงขึ้นในกรุงมอสโกของรัสเซีย ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้ไม่บ่อยนัก
กลุ่มที่ลุกขึ้นมาจัดการประท้วงในครั้งนี้คือ ภรรยาของทหารรัสเซียที่ถูกส่งไปรบในยูเครน
เป้าหมายก็คือ เพื่อเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียพาสามีของพวกเธอกลับบ้าน โดยในทุกๆ สัปดาห์ พวกเธอและประชาชนชาวรัสเซียบางส่วนจะนำดอกไม้สีแดงไปวางไว้ที่หลุมศพของทหารนิรนาม
อย่างไรก็ตาม ในวันครบรอบสองปีของสงคราม มีรายงานว่าตำรวจรัสเซียได้จับกุมประชาชนที่ออกมาร่วมประท้วมอย่างน้อย 4 ราย
จากภาพจะเห็นว่าผู้ที่ถูกตำรวจรัสเซียควบคุมตัวมีทั้งผู้หญิง ประชาชนที่เตรียมนำดอกไม้สีแดงมาวาง รวมถึงสื่อมวลชน
สงครามยูเครนครบรอบ 2 ปีในวันที่รัสเซียดูเหมือนว่าจะกลายไปเป็นฝ่ายได้เปรียบ หลังสามารถรุกคืบในแนวรบทางภาคตะวันออกได้ ขณะที่มีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ในการทำสงครามยืดเยื้อที่มากกว่ายูเครน
ล่าสุดเมื่อวานนี้ รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียได้เดินทางไปเยือนรัสเซียที่แนวรบในยูเครน
เมื่อวานนี้ กระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงานว่า เซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ได้เดินทางไปที่แนวรบในยูเครน หรือในพื้นที่ที่ฝ่ายรัสเซียเรียกว่า “เขตปฏิบัติการทางทหารพิเศษ” โดยไม่ได้เปิดเผยอย่างเฉพาะจงว่าคือพื้นที่ใด
รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงที่ศูนย์บัญชาการทหารรัสเซีย โดยผู้บัญชาการ ‘CENTRE GROUP’ ของกองทัพรัสเซียได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เมืองอัฟดีฟกาต่อรัฐมนตรีกลาโหม