“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวผันผวน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ซึ่งเผชิญแรงขายตามค่าเงินหยวนหลังจากข้อมูล PMI เดือน ต.ค. ของจีนออกมาน่าผิดหวัง แต่เงินบาทพลิกแข็งค่าในช่วงก่อนการประชุม FOMC ซึ่งตลาดมีความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด อาจเริ่มส่งสัญญาณชะลอแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงิน
อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเกือบทั้งหมดและกลับมาอ่อนค่าหลังการประชุมเฟด ซึ่งแม้เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยไปที่ 3.75-4.00% ตามคาด แต่ท่าทีของประธานเฟดที่ยังคงกังวลเงินเฟ้อก็สะท้อนว่า เฟดจะยังไม่ยุติวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้
เงินบาทแข็งค่ากลับมาได้อีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่เงินดอลลาร์ ขาดแรงหนุนเพิ่มเติม เนื่องจากตลาดยังคงรอติดตามตัวเลขตลาดแรงงานเดือน ต.ค. ของสหรัฐคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
ในวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 2565 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับ 37.90 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (28 ต.ค.) ขณะที่ระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-4 พ.ย. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 14,191 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตร 14,429 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตร 15,696 ล้านบาท แต่มีตราสารหนี้ที่หมดอายุ 1,267 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (7-11 พ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ระดับ 37.00-38.00 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเดือน ต.ค. ผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์ค่าเงินในภูมิภาค
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ต.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์ในมุมมองของผู้บริโภคเดือน พ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจเดือน ต.ค. ของจีน อาทิ ตัวเลขทุนสำรองฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต รวมถึงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/65 ของอังกฤษและอินโดนีเซียด้วยเช่นกันคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg